เครื่องตรวจสอบคุณภาพไข่
DET6500
DET6500
DET6500
SCROLL

คุณภาพไข่

หน่วยฮอก (Haugh unit) และดัชนีไข่แดง เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญในการวัดคุณภาพของไข่ เครื่อง DET6500 จะทำการคำนวณและแสดงผลอัตโนมัติ ทั้งหน่วยฮอก (Haugh unit) และ ดัชนีไข่แดง (YI: Yolk Index Score)

หน่วยฮอก (Haugh unit)

หน่วยฮอก (Haugh Unit) เป็นหน่วยวัดที่บ่งชี้ถึงคุณภาพไข่ที่นำเสนอโดย Dr. Raymond Haugh ในปี ค.ศ. 1937 ความสูงของไข่ขาวข้นที่คลุมรอบไข่แดง คำนวณร่วมกับน้ำหนักไข่ จะเป็นตัวกำหนดค่าคะแนนของหน่วยฮอก ค่าคะแนนยิ่งมีค่าสูงแสดงว่าไข่ฟองนั้นมีคุณภาพสูงด้วย

หน่วยฮอก (Haugh unit) ถูกคำนวณออกมาโดยใช้สูตรต่อไปนี้: ความสูงของไข่ขาวรอบไข่แดงและวางลงบนพื้นราบ พร้อมกับน้ำหนักไข่
HU: หน่วยฮอก (Haugh unit) H: ความสูงของไข่ขาว W: น้ำหนักไข่

HU=100 x log (H-1.7W0.37+7.6)

รูปภาพนี้แสดงถึงด้านข้างของไข่ที่ตอกลงบนพื้นราบ ความสูงของไข่ขาว (H) หมายถึงความสูงที่บริเวณตรงกลางของไข่ขาว

NABEL ได้ทำการตรวจสอบการกระจายตัว (%) ของค่าแคลอลี่ของหน่วย Haugh ในไข่ที่ผลิตเชิงพาณิชย์จำนวน 23,096 ฟองหลังจากวันที่บรรจุไข่ แม้ว่าไข่จำนวนเกือบครึ่งหนึ่งจะมีค่าระหว่าง 80-90.1 แต่มีจำนวน 1000 ที่เกือบจะไม่มีความหนาของไข่ขาวเลย

การแจกแจง (%) ของค่าฮอก ในไข่ที่ผลิตเชิงพาณิชย์จำนวน 23,096 ฟอง เป็นการวัดค่าหลังจากวันที่ทำการบรรจุไข่แล้ว

เครื่องตรวจสอบคุณภาพไข่ DET6500 ยี่ห้อ NABEL นี้จะทำการคำนวณ ค่าฮอก และแสดงผลเป็นคะแนนการจัดอันดับบนพื้นฐานจาก United States Department of Agriculture (USDA) โดยอัตโนมัติ

การจัดอันดับ: AA (HU: มากกว่า 72.0 ขึ้นไป)
A (HU: 60.0~71.9)
B (HU: 31.0~59.9)
C(HU: ต่ำกว่า 30.0 ลงไป)
display

ดัชนีไข่แดง(Yolk index)

ดัชนีไข่แดง (Yolk Index) จะถูกคำนวณโดยการแบ่งความสูงของไข่แดงจากเส้นผ่านศูนย์กลางของไข่ที่ตอกลงบนพื้นผิวเรียบ มันถูกใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของไข่ในช่วงปี ค.ศ. 1930 เมื่อไข่เสื่อมคุณภาพลงไปเรื่อยๆ ดัชนีไข่แดงก็จะมีค่าต่ำลงไปเช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากโครงสร้างไฟเบอร์ของเนื้อเยื่อ Vitelline หย่อนลง และความแข็งแรงของเนื้อเยื่อลดลงตามระยะเวลาที่ผ่านไป

ค่าดัชนีไข่แดง (Yolk Index) จะถูกคำนวณด้วยสูตรต่อไปนี้: ความสูงของไข่แดงที่ตอกลงบนพื้นผิวเรียบ คำนวณร่วมกับเส้นผ่าศูนย์กลางของไข่แดง
YI: ดัชนีไข่แดง  YH: ความสูงของไข่แดง YD: เสน้ ผ่านศูนย์กลางไข่แดง

YI=YH/YD

ข้อมูลที่ได้จากการวัดค่าด้วยมือและจากการวัดค่าแบบดิจิตอล จะถูกนำมาเปรียบเทียบกัน โดยใช้ไข่ชนิดต่างๆ ที่มีระดับของความสดที่ต่างกัน การวัดค่าด้วยมือนั้นจะใช้อุปกรณ์วัดคุณภาพไข่แบบอนาล็อกหรือ Vernier Caliper ส่วนการวัดค่าแบบดิจิตอลนั้นจะใช้เครื่อง DET6500 ในการวัด

ผลที่ได้รับจากการวัดด้วยมือและการวัดแบบค่าดิจิตอลนั้น แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งมาก ระหว่างหน่วยฮอก (Haugh Unit) และดัชนีไข่แดง (Yolk Index) ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือสูงในการวัดค่าดิจิตอลของ DET6500

Hatta et.al.(2016), The 25th World's Poultry Congress.

กราฟด้านล่างแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีไข่แดง (Yolk Index) ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน อุณหภูมิที่ใช้ในการเก็บรักษาไข่มีผลต่อความสดใหม่ของไข่ ไข่ที่ถูกเก็บในอุณหภูมิต่ำจะยังคงความสดใหม่ไว้ได้ยาวนานกว่า

The illustrated egg handbook

เหตุผลของการใช้ดัชนีไข่แดง (Yolk Index)

เนื่องจากค่าของหน่วยฮอก (Haugh Unit) ลดลงอย่างรวดเร็ว อาจทำให้การวัดค่าความเสื่อมสภาพของไข่ค่อนข้างอ่อนไหวมากโดยเฉพาะหลังจากการวางไข่ไม่นาน ภายใต้สภาพการค้าทั่วไปที่ไม่พึงประสงค์เท่าไหร่ คุณภาพของไข่จะค่อนข้างต่ำมากจนแทบจะไม่มีไข่ขาวข้นเหลืออยู่เลย การเปรียบเทียบค่าของหน่วยฮอก (Haugh Unit) ในกลุ่มไข่ดังกล่าวจะไม่มีความหมายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามดัชนีไข่แดง (Yolk Index) จะลดลงอย่างช้าๆทำให้สามารถตรวจสอบความแตกต่างของคุณภาพไข่ได้แม้จะเป็นไข่ที่ถูกเก็บไว้หลายวันแล้วก็ตาม